การพิมพ์ซิลค์สกรีนพลาสติก พีวีซี,พีพี
|
การทำงานซิลค์สกรีน
การพิมพ์ระบบนี้ใช้การปาดหมึกพิมพ์ผ่านผ้าสกรีนลงไปติดบนวัสดุ ปริมาณของหมึกพิมพ์จึงสามารถผ่านลงไปเกาะยึดบนวัสดุที่พิมพ์ได้มากและทึบกว่าการพิมพ์ระบบอื่น ๆ จึงทำให้ภาพพิมพ์แลดูสดสวยและคงทนกว่างานพิมพ์ชนิดอื่นๆ
ลักษณะงานที่นิยมใช้การพิมพ์ลักษณะนี้ ได้แก่ งานพิมพ์สติกเกอร์, รูปลอกน้ำ, ฉลากสินค้า, หน้ากากอุปกรณ์อิเลคทรอนิคส์, เสื้อผ้า,อะครีลิค,หนังเทียม(พีวีซีPVC)บนพลาสติกพีพี (PP) และ พีวีซี (PVC) ริจิด แวคครัม(VACCUM) รวมถึงงานกระดาษ กล่อง บรรจุภัณฑ์ Packaging Premium Plastic Bag GIFT, |
การพิมพ์(ซิลค์)สกรีน (Silkscreen Printing) เป็นการพิมพ์พื้นฉลุที่ใช้หลักการพิมพ์โดยให้หมึกซึมทะลุผ่านผ้าที่ขึงตึงไว้ และให้ทะลุผ่านเฉพาะบริเวณที่เป็นภาพสามารถพิมพ์งานสอดสีได้ความละเอียดของภาพพิมพ์ขึ้นอยู่กับความถี่ของเส้นใยผ้า สามารถพิมพ์ลงบนวัสดุได้หลากหลากชนิด กระดาษ,ผ้า,ไม้,พลาสติกและพิมพ์บนวัสดุที่มีผิวโค้งได้ ตัวอย่างงานพิมพ์ประเภทนี้คือ นามบัตร,บรรจุภัณฑ์ต่างๆ,ป้ายกระดาษโลหะ,ป้ายโฆษณา,เสื้อ,ผืนผ้า,ถุงพลาสติก,ขวด,จานชาม,ชิ้นส่วอุปกรณ์ต่างๆ,พลาสติกพีพี(PP),พีวีซี(PVC),ริจิด-แวคครัม(VACCUM),กล่อง,บรรจุภัณฑ์ Packaging Premium Plastic,Bag,GIFT
เทคนิคการแยกสีเพื่อการพิมพ์สกรีน
งานแยกสีและผลิตแม่พิมพ์เป็นขั้นตอนเริ่มแรกของงานพิมพ์ ซึ่งประกอบด้วยงานก่อนพิมพ์ งานพิมพ์ และงานหลังพิมพ์ งานก่อนพิมพ์มีประกอบ ดังนี้คือ
1. งานก่อนพิมพ์
การแยกสีทำฟิล์มเพื่อนำไปจัดทำแม่พิมพ์ การทำแม่พิมพ์ ประกอบด้วย
-แม่พิมพ์
1.1 ฟิล์ม (หรือไขฟิล์มหรือฟิล์มต่างๆที่ขึ้นอยู่กับงานที่จะใช้)
1.2 บล็อก คือโคลงสี่เหลี่ยมขึงผ้าสกรีนไว้สำหรับเทสีไปที่แม่พิมพ์หรือบล็อกสกรีนนั้นๆแล้วใช้แปรงปาดลงบนวัตถุที่เราจะพิมพ์**โคลงสี่เหลี่ยมปัจจุบันมีวิวัฒนาการที่ก้าวหน้า เพื่อปรับให้เข้ากับการใช้งานอาจจะทำด้วยไม้ ,อลูมิเนียม ก็ได้ขึ้นอยู่กับต้นทุนของผู้ประกอบการ รวมถึงใยผ้าและเนื้อผ้าจะมีความละเอียด ขึ้นอยู่กับการเลือกใช้งานให้เหมาะสมว่านำไปพิมพ์ลงบนอะไร**
1.3 แปรงปาด คืออุปกรณ์ที่ขาดไม่ได้ ในงานพิมพ์ซิลด์สกรีน แต่ละช่างพิมพ์ต่างมีเทคนิคแตกต่างกันออกไป แปรงปาดมีหลายแบบที่ใช้งาน ยางปาดสีก็มีหลายชนิดขึ้นอยู่กับการใช้งานด้วย
1.4 กาวอัด เสมือนแม่พิมพ์ที่ได้จากการนำ ฟิล์มที่เราทำขึ้นมาวางแนบกับบล็อกสกรีนที่ได้ ซึ่งขั้นตอนก็คือนำกาวอัดมาปาดฉาบบางๆไว้ที่บล็อกสกรีน แล้วนำไปอบให้แห้งจากนั้นก็มาอัดแสงโดยที่นำฟิล์มมาวางแนบไว้ด้วยกัน(เรียกว่าขั้นตอนการอัดบล็อกสกรีน) เราจะทำแบบนี้ให้ครบจำนวนสีและลายของงานนั้นๆที่จะพิมพ์สกรีนชิ้นงาน
1.5 สี ก็เป็นสิ่งสำคัญอีกที่ชาดไม่ได้ลวดลายที่ออกแบบมานั้นเราต้องแต่งเติมสีสัน งานซิลด์สกรีนจะมีสีไม่เกิน 7 บล็อกรวมขาวและดำ เป็นมาตรฐานงานพิมพ์สกรีนทั่วไป เพราะว่าระบบงานซิลด์สกรีนเป็นสีใครสีมันหรือเรียกว่า (สีตาย)แตกต่างจากงานพิมพ์ระบบออฟเซ็ทอยู่มาก
งาน1ชิ้น อาจจะมี 5 สีเราต้องใช้ช่างพิมพ์ถึง 5 คนในงานพิมพ์ยังไม่รวมถึง คนเก็บชิ้นงานและคนจัดเรียง ชิ้นงานก่อนพิมพ์ จะเห็นว่าเราจึงมีข้อกำหนดในงานสกรีนให้มันแคบลงเรื่องงานดีไซน์และนำมาใช้งานพิมพ์สกรีน
สี Colour -PANTONE of Silk-screen
|
Colour Guide of PANTONE
สีเป็นส่วนสำคัญในการสกรีน การเตรียมสีก่อนพิมพ์ ขึ้นอยู่กับความชำนาญงานของช่างสกรีนที่จะผสมสี แต่ในที่นี้เราจะมีตัวกลางในการนำเสนองานให้กับลูกค้าโดยเราจะมีการกำหนดสีรายละเอียดต่างๆเพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ตรงกัน โดยเราจะยึดถือ แพนโทน*Pantone*ในการคุยรายละเอียดงานพิมพ์เพื่อให้ได้ความเข้าใจที่ตรงกัน เรื่องสีพิมพ์ที่จะต้องไปในทางเดียวกัน และง่ายต่อการปฏิบัติงาน และยังเป็นที่ยอมรับและมาตรฐานทั่วไปอีกด้วย
|
2. งานพิมพ์
เราจะแบ่งเป็น 2 ขั้นตอนดังนี้
2.1 การพิมพ์พรู๊ฟตัวอย่าง เป็นการทดลองพิมพ์ก่อนจะลงงานจริงเพื่อ ตรวจสอบเรื่องข้อผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นกับชิ้นงานเช่น ฟิล์มที่อาจจะตกหล่นคำลวดลาย ที่อาจจะขาดหายไปจากการทำฟิล์ม และที่ขาดไม่ได้คือ สี ซึ่งต้องใช้ทักษะและความชำนาญงานเป็นอย่างมาก เพื่อให้เกิดความแม่นยำในเรื่องเฉดสี ค่าบวกลบที่จะเพี้ยนไม่เกิน10-15% ของความเข้มอ่อน ของสีที่อาจจะเกิดจากการผสมทิ้งไว้นานหรือเหตุผลอื่นๆที่เราไม่สามารถ จะกำหนดได้ในงานสกรีน ซึ่งจัดได้ว่าเป็นปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นตลอดเวลา 2.2 ขั้นตอนการพิมพ์ หลังจากพรู๊ฟงานเรียบร้อยแล้วก็เข้าสู่การพิมพ์สกรีนก็มีขั้นตอนไม่ต่างกับการพรู๊ฟชิ้นงานใช้การพิมพ์แบบเดียวกัน เพียงแต่ว่าการพรู๊ฟงานพิมพ์นั้นจะทำให้เรารู้ถึงปัญหาข้อผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นได้ ตอนสกรีน
3. งานหลังพิมพ์
เป็นขั้นตอนท้ายสุดที่ได้จากการพิมพ์สกรีน แต่เหมือนเป็นจุดเริ่มต้นที่จะสร้างงานพิมพ์ซลิด์สกรีนต่อนั่นเอง การเรียงและเก็บชิ้นงานที่ได้เพื่อส่งต่อไปขั้นตอนการผลิตอื่นๆก่อนส่งมอบงานนั้น จะต้องมีการตรวจงานพิมพ์อีกครั้งเพื่อ ให้แน่ใจว่าไม่มีข้อผิดพลาดใดๆหลังจากการพิมพ์สกรีน เช่นบล็อกตัน สีไม่ลง ลายขาดหาย หรือเลอะเป็นจุดๆอาจจะเกิดจากการล้างบล็อกไม่สะอาดหรือการอัดบล็อกที่ไม่ดี ต่างๆเป็นต้น
Silk screen ซลิค์สกรีน ในแต่ละโรงพิมพ์ จะมีเทคนิคและประสบการณ์ทำงานที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับวัตถดิบและปัญหาที่เกิดขึ้นในแต่ละงาน**
หมายเหตุ
บทความที่นำมาขยายความงานพิมพสกรีนนี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่คร่าวๆ และเรียบเรียงมาจากประสบการณ์ขั้นตอนการทำงาน ดังนั้นเนื้อหาบางตอนอาจตัดที่ซับซ้อนลงไปเพื่อให้กระทัดรัด และให้ลูกค้าเข้าใจตรงกันและสอดคล้องกับสินค้า เพื่อเพิ่มความเข้าใจในงานพิมพ์ซิลค์สกรีนเพื่อมุ่งเน้น สู่คุณภาพงานพิมพ์ที่เข้าถึงความต้องการของลูกค้าโดยให้เกิดประโยชน์อันสูงสุด